มะค่า

ชื่อสมุนไพร       : มะค่า

ชื่อพื้นเมือง       : มะค่าแต้, มะค่าหยุม, มะค่าหนาม, แต้, มะค่าหนาม, มะค่าลิง, กอกก้อ, แต้หนาม เป็นต้น

วงศ์               :  FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Sindora siamensis Miq.

ชื่อสามัญ         :  Ma kha num

ลักษณะของสมุนไพร มะค่า จัดเป็นไม้ยืนต้น มีความสูงของต้นประมาณ 10-15 เมตร แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง     มีเรือนยอดเป็นรูปร่มหรือเป็นทรงเจดีย์ต่ำ กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาล เปลือกต้นเรียบเป็นสีเทาคล้ำใบเป็นใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 3-4 ใบ แกนช่อใบยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปไข่ ปลายใบเว้าตื้น โคนใบเป็นรูปลิ่ม ส่วนขอบใบเป็นคลื่น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 6-15 เซนติเมตร แผ่นใบหนา แผ่นใบด้านบนมีขนหยาบ ส่วนด้านท้องใบมีขนนุ่ม ดอกเป็นช่อตามซอกใบหรือตามปลายกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร ดอกเป็นสีเหลืองแกมเขียว มีกลีบเลี้ยงหนา 4 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่กว้าง ปลายกลีบมีหนามขนาดเล็ก ส่วนกลีบดอกยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 ก้าน และมี 2 ก้านใหญ่กว่าก้านอื่น ๆ ด้านนอกดอกมีขนสีน้ำตาล ก้านดอกยาวประมาณ 0.2-0.4 เซนติเมตร โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ออกผลเป็นฝักเดี่ยวแบนค่อนข้างกลม ที่ผิวเปลือกมีหนามแหลมอยู่ทั่วไป ผลเป็นรูปไข่กว้างหรือเป็นรูปโล่ โคนเบี้ยวและมักมีติ่งแหลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4.5-10 เซนติเมตร พอแห้งจะแตกออกเป็น 2 ซีก ภายในมีเมล็ดสีดำประมาณ 1-3 เมล็ด โดยผลจะแก่ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ เปลือกใช้ต้มแก้ซาง แก้ลิ้นเป็นฝ้า ปุ่มที่เปลือกมีรสเมาเบื่อ ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้พยาธิ ส่วนเมล็ดมีรสเมาเบื่อสุขุมเป็นยาขับพยาธิเช่นกัน ปุ่มที่เปลือกนำมาต้มรมให้หัวริดสีดวงทวารหนักฝ่อได้

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  วัดพระพุทธบาทเขาน้อยเจริญธรรม ม.13 บ้านใหม่เขาน้อย ต.แก่งโสภา        อ.วังทอง จ.พิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล คุณสุบิน  ปัญทา     อายุ 65 ปี

ที่อยู่ 454 ม.13 ต.แก่งโสภา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก