โด่ไม่รู้ล้ม

ชื่อสมุนไพร       : โด่ไม่รู้ล้ม

ชื่อพื้นเมือง       : หนาดมีแคลน, หนาดผา, ตะชีโกวะ, หนาดผา, ขี้ไฟนกคุ่ม, คิงไฟนกคุ่ม, เคยโบ้, หญ้าไก่นกคุ่ม, หญ้าปลาบ, หญ้าไฟนกคุ่ม, หญ้าสามสิบสองหาบ เป็นต้น

วงศ์               :  ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Elephantopus scaber L. 

ชื่อสามัญ         :  Prickly-leaved elephant’s foot

ลักษณะของสมุนไพร โด่ไม่รู้ล้มจัดเป็นไม้เนื้ออ่อน ต้นแข็ง ตั้งตรง รากที่มีอายุมากจะมีลักษณะคล้ายเหง้า รากแขนงกลมยาว ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับที่โคนใกล้ผิวดิน ขอบใบหยัก มีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ใบมีขนสีขาวตรงละเอียด ตรง ห่าง สาก ทอดขนานกับผิวใบ ทั้งสองด้าน ท้องใบมีขนมากกว่าหลังใบ ใบรูปหอกกลับ หรือรูปไข่แกมใบหอกกลับ ส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบ ผายกว้าง แล้วสอบแหลมทู่ๆ ส่วนโคนใบสอบแคบจนถึงก้านใบ ขอบใบหยักมน หรือจักฟันเลื่อยห่างๆ เนื้อใบหนาสากดอกช่อ แบบช่อกระจุกแน่น ก้านช่อดอกยาว ดอกสีม่วงหรือขาว

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ นำรากต้มเป็นน้ำดื่ม ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง  และนอกจากนี้ยังใช้ทั้งต้นของโด่ไม่รู้ล้ม นำมาตากแห้งแล้วหั่นเป็นฝอยชงน้ำดื่ม ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยแก้ไข้จับสั่นหรือไข้มาลาเรีย แก้อาการเจ็บคอ ต่อมทอนซิลอักเสบ

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 10 บ้านไผ่ใหญ่ ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังนกแอ่น จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล  นายโกศล สมบัติคำ อายุ 58 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 221/1 หมู่ที่ 10 บ้านไผ่ใหญ่ ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังนกแอ่น จังหวัดพิษณุโลก