ย่านาง

ชื่อสมุนไพร       : ย่านาง

ชื่อพื้นเมือง       : สยาน , เครือขยัน , หญ้านาง , ขยัน, เถาขยัน

วงศ์               :  (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE)

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Bauhinia strychnifolia Craib.

ลักษณะของสมุนไพร ต้นย่านาง จัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้ชนิดอื่น โดยมีความยาวประมาณ 5 เมตร เปลือกเถาเรียบ เถามีขนาดกลาง ๆ และมักแบนมีร่องตรงกลาง เปลือกเถาเป็นสีออกเทาน้ำตาล ส่วนเถาแก่มีลักษณะกลมและเป็นสีน้ำตาลแดง มีมือสำหรับการยึดเกาะ ออกเป็นคู่ ๆ ปลายม้วนงอ ส่วนรากมีผิวขรุขระสีน้ำตาลเข้มถึงดำ มีรอยบากตามขวางเล็ก ๆ ทั่วไป ลักษณะของเนื้อไม้ภายในรากเป็นสีน้ำตาลแดง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการแยกหัว ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค โดยสามารถพบต้นย่านางแดงได้ตามป่าเบญจพรรณที่แห้งแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าแดง ป่าดิบเขา และตามที่โล่งแจ้ง

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ เถาย่านางแดงช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยบำรุงหัวใจ แก้โรคหัวใจบวม ช่วยดับพิษร้อนภายในร่างกาย ช่วยแก้อาการท้องผูกไม่ถ่าย ด้วยการใช้ฝนกับน้ำหรือน้ำซาวข้าว หรือนำมาต้มกับน้ำดื่ม รากหรือเหง้าใช้เป็นยาแก้ไข้ ใช้กระทุ้งพิษไข้ ถอนพิษไข้และแก้ไข้ทั้งปวง โดยใช้เหง้านำมาฝนกับน้ำหรือน้ำซาวข้าว หรือจะต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาก็ได้ ส่วนเถาใช้เป็นยาแก้ไข้พิษ แก้ไข้หมากไม้ ไข้กาฬ ไข้หัว ไข้สุกใส ไข้เซื่องซึม ไข้ป่าเรื้อรัง ไข้ทับระดู และไข้กลับไข้ซ้ำ ใช้เป็นยาแก้พิษทั้งปวง แก้พิษเบื่อเมา พิษเบื่อเมาของเห็ด ถอนพิษยาเมา แก้เมาสุรา แก้ยาเบื่อ ยาสั่ง ถอนพิษผิดสำแดง โดยใช้เหง้านำมาฝนกับน้ำหรือน้ำซาวข้าว หรือจะต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาก็ได้ ช่วยล้างสารพิษหรือสารตกค้างจากยาฆ่าแมลงในร่างกาย หรือเกิดอาการแพ้ต่าง ๆ ด้วยการใช้ใบหรือเถานำมาต้มดื่มเป็นประจำหรือใช้กินแทนน้ำ ก็จะช่วยลดอาการดังกล่าวได้ ช่วยล้างสารพิษจากยาเสพติด สำหรับผู้ป่วยที่กำลังเลิกยาเสพติดดื่ม

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 10 บ้านไผ่ใหญ่ ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังนกแอ่น จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล  นายโกศล สมบัติคำ อายุ 58 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 221/1 หมู่ที่ 10 บ้านไผ่ใหญ่ ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังนกแอ่น จังหวัดพิษณุโลก