ชุมเห็ดเทศ

ชื่อสมุนไพร       : ชุมเห็ดเทศ

ชื่อพื้นเมือง       : ส้มเห็ด (เชียงราย), จุมเห็ด (มหาสารคาม), ขี้คาก ลับมืนหลวง ลับหมื่นหลวง ลับมืนหลาว หญ้าเล็บมือหลวง หมากกะลิงเทศ (ภาคเหนือ), ชุมเห็ด ชุมเห็ดใหญ่

วงศ์               : (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Senna alata (L.) Roxb. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cassia alata L., Cassia bracteata L.f., Herpetica alata (L.) Raf.)

ชื่อสามัญ         :  Acapulo, Candelabra bush, Candle bush, Candlestick senna, Christmas candle, Empress candle plant, Impetigo bush, Ringworm bush, Ringworm senna, Ringworm shru, Seven golden candlestick

ลักษณะของสมุนไพร จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ความสูงของต้นประมาณ 2-3 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นแนวขนานกับพื้นดิน กิ่งจะแผ่ออกทางด้านข้าง มีขนสั้นนุ่ม เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ชอบขึ้นตามที่ชุ่มชื้น ไม่ชอบที่ร่ม สามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด พรรณไม้ชนิดนี้ไม่ต้องการความเอาใจใส่ ปลูกแล้วปล่อยทิ้งไว้ให้โตขึ้นเองได้ พบขึ้นได้ทั่วไปในประเทศไทย ทั้งบนที่ราบหรือบนภูเขาสูงจนถึง 1,500 เมตรใบชุมเห็ดเทศ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ออกเรียงสลับกัน มีใบย่อยประมาณ 8-20 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนานแกมรูปรี ปลายใบโค้งมนหรือหยัก โคนใบมนเว้าเข้าหากันเล็กน้อย โคนใบทั้งสองด้านไม่เท่ากัน ส่วนขอบใบเรียบเป็นสีแดง ใบย่อยมีขนาดกว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-15 เซนติเมตร เนื้อใบค่อนข้างหนา หยาบและเหนียว แก่นกลางใบหนา ก้านใบรวมยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตร ส่วนก้านใบประกอบยาวประมาณ 2 เซนติเมตร มีหูใบลักษณะเป็นรูปติ่งหู สามเหลี่ยม ยาวประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ติดทนเมื่อนำใบมาอบให้แห้งแล้วจะเป็นสีน้ำตาลอมเขียวถึงสีน้ำตาล ส่วนผงที่ได้เป็นสีน้ำตาลอมเขียว มีกลิ่นอ่อน ๆ รสเบื่อเอียนและขมเล็กน้อย

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ ดอกสด ยอดอ่อน สามารถนำมาต้มหรือลวกรับประทานเป็นผักจิ้มได้ โดยยอดอ่อนจะมีรสชาติขมการดื่มชาชงจากชุมเห็ดเทศเป็นประจำจะช่วยลดสิว ฝ้า กระ และทำให้ผิวพรรณผ่องใสได้ชาวแอฟริกาจะปลูกต้นชุมเห็ดเทศไว้รอบ ๆ บ้าน เพื่อใช้ไล่มดในอินเดียและศรีลังกาจะใช้ทั้งต้นอ่อนเป็นยาเบื่อปลาต้นชุมเห็ดเทศมีดอกสวยและมีสีสัน ดูแลได้ง่าย สามารถนำมาใช้ปลูกเป็นฉากหลังทางเดินในสวน บริเวณศาลา หรือปลูกเป็นไม้ประดับสวนหรือตามริมน้ำได้ในปัจจุบันได้มีผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสมุนไพรชุมเห็ดเทศออกวางจำหน่ายในท้องตลาดหลากหลายรูปแบบ เช่น ชาชง ยาแคปซูล ยาระบายอัดเม็ด หรือในรูปแบบยาทาแก้กลากเกลื้อน

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 10 บ้านไผ่ใหญ่ ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังนกแอ่น จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล  นายโกศล สมบัติคำ อายุ 58 ปี

ที่อยู่ บ้านเลขที่ 221/1 หมู่ที่ 10 บ้านไผ่ใหญ่ ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังนกแอ่น จังหวัดพิษณุโลก