รากสามสิบ (สาวร้อยผัว)

ชื่อสมุนไพร       : รากสามสิบ (สาวร้อยผัว)

ชื่อพื้นเมือง       : จ๋วงเครือ (เหนือ) ผักชีช้าง (หนองคาย) ผักหนาม (นครราชสีมา) สามร้อยราก (กาญจนบุรี) สามสิบ ชีช้าง จั่นดิน ม้าสามต๋อน

วงศ์               :  Asparagaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Asparagus racemosus Willd

ชื่อสามัญ         :  –

ลักษณะของสมุนไพร รากสามสิบจัดอยู่ในประเภทไม้เลื้อย เนื้อแข็ง ลำต้นรากสามสิบสีเขียว มีหนามแหลม มักเลื้อยพันตันไม้อื่น เลื้อยยาว 1.5-4 เมตร เถากลมเรียบ เถาอ่อนเป็นเหลี่ยม ตามข้อเถามีหนามแหลม เหง้า และรากใต้ดินออกเป็นกระจุกคล้ายกระสวยออกเป็นพวงคล้ายรากกระชาย อวบน้ำ เป็นเส้นกลมยาว โตกว่าเถามาก ลำต้นมีหนาม เถาเล็กเรียว กลม สีเขียว ใบรากสามสิบ เป็นใบเดี่ยว แข็ง ออกรอบข้อ เป็นฝอยเล็กๆคล้ายหางกระรอก สีเขียวดก หรือเป็นกระจุก 3-4 ใบ เรียงแบบสลับ ใบรูปเข็ม กว้าง 0.5-1 มิลลิเมตร ยาว 3-6 เซนติเมตร แผ่นใบมักโค้ง สันเป็นสามเหลี่ยม มี 3 สัน ปลายใบแหลม เป็นรูปเคียว โคนใบแหลม มีหนามที่ซอกกระจุกใบ ก้านใบยาว 13-20 ซม. ช่อดอกรากสามสิบ ออกที่ปลายกิ่งหรือซอกใบ แบบช่อกระจะ ยาว 2-4 เซนติเมตร ดอกย่อย สีขาว ขนาดเล็ก มีกลิ่นหอม

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ (ระบุส่วนที่ใช้และวิธีการใช้) ใช้ ราก ซึ่งมีรสเย็น หวานชุ่ม ใช้แก้กระษัย แก้ขัดเบา ขับปัสสาวะ หล่อลื่นและกระตุ้น ขับเสมหะ บำรุงเด็กในครรภ์ บำรุงตับปอด แก้ตับปอดพิการ บำรุงกำลัง แก้กระษัย ยาพื้นบ้านใช้ ทั้งต้นหรือราก ต้มน้ำดื่ม แก้ตกเลือด และโรคคอพอก ราก มีรสเฝื่อนเย็น กินเป็นยาแก้พิษร้อนในกระหายน้ำ แก้ปวดเมื่อย ครั่นตัว ฝนทาแก้พิษแมลงป่องกัดต่อย แก้ปวดฝี ทำให้เย็น ถอนพิษฝี พิษปวดแสบปวดร้อน ช่วยบำรุงเด็กในครรภ์ บำรุงตับ ปอด บำรุงกำลัง ผสมกับเหง้าขิงป่า และต้นจันทน์แดงผสมเหล้าโรงใช้เป็นยาแก้วิงเวียน ทั้งต้นหรือราก ต้มน้ำดื่ม แก้ตกเลือด และโรคคอพอก  สาวร้อยผัว หรือรากสามสิบ เป็นสมุนไพรไทยที่มีรสหวานเย็น แฝงไปด้วยสรรพคุณขนานเอก บำรุงเครื่องเพศในสตรี และยังเสริมสมรรถภาพทางเพศให้แก่บุรุษ

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 13 บ้านตอเรือ ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นางปิ่น  มูลนาง      อายุ 70 ปี ที่อยู่ หมู่ที่ 13 บ้านตอเรือ ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก