กะเรกะร่อน

ชื่อสมุนไพร       : กะเรกะร่อน

ชื่อพื้นเมือง       : เอื้องปากเป็ด

วงศ์               :  (ORCHIDACEAE)

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Cymbidium aloifolium (L.) Sw.

ชื่อสามัญ         :  (Cymbidium finlaysonianum Lindl.)

ลักษณะของสมุนไพร ต้นกะเรกะร่อน มีเขตการกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเป็นกล้วยไม้อิงอาศัยเกาะอยู่ตามต้นไม้อื่น ๆ ลำต้นมีขนาดสั้น เกาะรวมกันเป็นกระจุกแน่น (ลำต้นเป็นหัวรูปรี มีหลายข้อ และขึ้นชิดกันเป็นกอ ๆ) ต้นมีรากออกเป็นเส้นแข็งชี้ขึ้นไปในอากาศ สามารถพบได้ตามป่าผลัดใบและป่าไม่ผลัดใบ  บ้างว่าพบได้ตามป่าเต็งรัง ตามที่โล่งแจ้งมีแสงแดดจัด ในระดับหลายความสูง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ดอกกะเรกะร่อน ออกดอกเป็นช่อสายห้อยลง โดยจะออกที่โคนต้น มีช่อดอกประมาณ 1-2 ช่อ ช่อดอกมีความยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ในช่อดอกมีดอกย่อยจำนวนมาก (ประมาณ 17-26 ดอก) ดอกมีขนาดประมาณ 2.5 เซนติเมตร (บ้างว่าเส้นผ่านศูนย์กลางดอกกว้างประมาณ 3.5 เซนติเมตร) กลีบดอกสั้นสีเหลืองมีลักษณะเป็นรูปแถบ มีแถบสีม่วงหรือสีน้ำตาลอมแดงขอบขาว ส่วนกลีบเลี้ยงมี 3 กลีบ มีลักษณะเป็นรูปแถบ โดยกลีบดอกจะแคบและสั้นกว่ากลีบเลี้ยง ดอกมีเกสรเพศผู้มีสีเหลือง โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน (บ้างว่าจะออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคม) 

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ ใบสดเมื่อนำไปลนไฟให้นุ่มแล้วบีบเอาน้ำมาหยอดหู แก้หูเป็นน้ำหนวก (ใบสด) เมล็ดนำมาใช้โรยใส่แผลเพื่อซับเลือดหรือใส่แผลเน่า (ชาวเมี่ยน) (ใบสด) นอกจากจะใช้เป็นยาสมุนไพรแล้ว ยังสามารถนำปลูกเป็นไม้ประดับได้อีกด้วย

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 19 หมู่บ้านวังกระบาก ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นางสุจิตรา อ่อนเปลีย         อายุ 58 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 399 หมู่ที่ 19 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก