ว่านงาช้าง

ชื่อสมุนไพร       : ว่านงาช้าง

ชื่อพื้นเมือง       : ว่านงาช้าง, ว่านงู, หอกสุรกาฬ (ทั่วไป)

วงศ์               :  DRACAENACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Sansevieria cylindrica Bojer

ชื่อสามัญ         :  —

ลักษณะของสมุนไพร ไม้ล้มลุก (ExH) มีลำต้นใต้ดินลักษณะเป็นเหง้า ไม่มีกิ่งก้าน ใบ ลักษณะเป็นแท่งกลมยาว แตกขึ้นมาจากลำต้นใต้ดิน เป็นรูปงาช้างลักษณะคล้ายกับผลมะรุม ปลายใบแหลมสูงประมาณ 1-2 ฟุต สีเขียวล้วน และมีร่องตามแนวความยาวจากโคนถึงปลาย ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะ แยกแขนง ดอกตูมมีสีขาว กลีบดอก 6 กลีบ ดอกเป็นรูปกรวย พอดอกบานจะเป็นเส้นเล็ก ๆ สีขาว

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ  ราก รสเอียน แก้ริดสีดวงทวารและเป็นยาถ่ายพยาธิ ใบ หรือส่วนที่เป็นแท่งกลมเหมือนงาช้าง รสเอียน ขับโลหิตหลังคลอด โรคบาดทะยักในเรือนไฟ แก้เลือดตีขึ้นหน้า ผู้ที่เป็นสิวฝ้า หน้าตกกระ รับประทานยานี้จะเห็นผลในไม่ช้า ชาวมลายูและซูลู ในแอฟริกา ตัดเอาปลายใบไปอังไฟแล้วบีบเอาน้ำหยอดหูแก้ปวดหู ในอินโดนีเซียคั้นเอาน้ำไปทาผมเป็นยาบำรุงรากเส้นผม ทำให้ผมดกดำเป็นเงางาม

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 19 หมู่บ้านวังกระบาก ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นางสุจิตรา อ่อนเปลีย         อายุ 58 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 399 หมู่ที่ 19 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก