ว่านตีนตะขาบ

ชื่อสมุนไพร       : ว่านตีนตะขาบ

ชื่อพื้นเมือง       : ว่านตะเข็บ (ภาคเหนือ), ว่านตะขาบ (เชียงใหม่)

วงศ์               :  POLYGONACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  ยังไม่ทราบชื่อที่แน่ชัด

ชื่อสามัญ         : 

ลักษณะของสมุนไพร ต้นว่านตีนตะขาบ จัดเป็นพรรณไม้ขนาดเล็ก ลำต้นเป็นปล้อง ๆ มีลักษณะกลมโตเท่ากับหางหนูมะพร้าวอ่อน แต่เมื่อลำต้นนั้นสูงขึ้นก็จะกลายเป็นไม้เลื้อย ต้นหนึ่งจะยาวได้ประมาณ 7-10 ฟุต ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำใบว่านตีนตะขาบ ใบจะออกติดกันเป็นปีกสองข้าง จากโคนต้นจนถึงยอด ดูคล้ายตะขาบ

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ ตามชนบทจะใช้ต้นและใบสดนำมาตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าใช้หยอดหู เพื่อรักษาหูเป็นน้ำหนวก ซึ่งพบว่าได้ผลดีมาก ใช้เพียง 2-3 ครั้งจะแห้งหาย ต้นและใบสดนำมาตำผสมกับเหล้า เอาแต่น้ำมาใช้ทารักษาอาการฟกช้ำบวม เคล็ดขัดยอกได้ดี ส่วนกากที่เหลือจากการนำไปใช้แก้ฟกช้ำบวมสามารถนำมาพอกถอนพิษตะขาบและพิษแมงป่องได้ ส่วนอีกข้อมูลหนึ่งระบุว่า ให้ใช้น้ำยางของต้นมาทาบริเวณบาดแผลที่ถูกกัด เมื่อรู้สึกว่ายางเริ่มแห้ง ก็ให้ทาซ้ำไปเรื่อย ๆประมาณ 30 นาที ก็จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดและอาการบวมได้ ส่วนอีกวิธีให้ใช้ต้นและใบสดประมาณ 1 ขีด นำมาตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาว 100 ซีซี แล้วนำส่วนผสมที่ได้มาพอกบริเวณบาดแผลทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 19 หมู่บ้านวังกระบาก ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นางสุจิตรา อ่อนเปลีย         อายุ 58 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 399 หมู่ที่ 19 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก